ReadyPlanet.com
รู้หรือเปล่าเป็นแม่ค้าออนไลน์ต้องยื่นภาษีง่ายๆด้วยบริษัทรับทำบัญชี

 บริษัทรับทำบัญชี

รู้หรือเปล่าเป็นแม่ค้าออนไลน์ต้องยื่นภาษีง่ายๆด้วยบริษัทรับทำบัญชี

ธุรกิจออนไลน์จัดทำเรื่องภาษีง่ายด้วยบริษัทรับทำบัญชี

ไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ก็ทำให้การขายสินค้า ย้ายตัวเองเข้ามาอยู่บนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าจะซื้ออะไร ก็มีให้ช้อปในสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เกิดแม่ค้า พ่อค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น เมื่อมีการซื้อ - ขาย มีรายได้ เรื่องสำคัญที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ ‘การจ่ายภาษี’

เป็นแม่ค้า พ่อค้าออนไลน์ ต้องเสียภาษีแบบไหน มีรายได้เท่าไหร่ถึงจะต้องจ่ายภาษี และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มาดูกัน!

ระยะเวลาการยื่นภาษีของแม่ค้า พ่อค้าออนไลน์ที่เป็น ‘บุคคลธรรมดา’ และ ‘นิติบุคคล’

ซึ่งช่วงเวลาที่ต้องยื่นภาษี จะแตกต่างกันไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด 

 

บุคคลธรรมดา 

 

แม่ค้าพ่อค้าออนไลน์มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องทำการยื่นภาษีปีละ 2 รอบ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 

 

1. ภ.ง.ด. 94 ยื่นภาษีครึ่งปีแรก

 

ภ.ง.ด. 94 จะยื่นภาษีในช่วง ก.ค. - ก.ย. ของทุกปี ทำการสรุปรวมรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อนำมาแสดงและยื่นในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค – 30 มิ.ย มีรายได้ทั้งหมดเท่าไร จะต้องสรุปและยื่นแสดงภาษีภายในเดือน ก.ย. ของปีเดียวกัน

 

2. ภ.ง.ด. 90 ยื่นภาษีสิ้นปี

 

จะยื่นภาษีในช่วง ม.ค. - มี.ค. ของทุกปี ทำการสรุปรวมรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยกรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 เช่น ปี 2566 มีรายได้ทั้งหมดเท่าไร จะต้องยื่นภายในเดือน มี.ค. ปี 2567 

 

นิติบุคคล 

 

แม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท มีฐานะเป็นนิติบุคคล จะต้องทำการยื่นเสียภาษีปีละ 2 รอบ คือ ภ.ง.ด. 51 และ ภ.ง.ด. 50 

 

1. ภ.ง.ด. 51 ยื่นภาษีครึ่งปีแรก 

 

จะยื่นภาษีในช่วง ก.ค. - ส.ค. ของทุกปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. มายื่นในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 51 ภายในเดือน ส.ค. ของปีเดียวกัน 

2. ภ.ง.ด. 50 ยื่นภาษีสิ้นปี 

จะยื่นภาษีในช่วง พ.ค. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งตลอดปี และยื่นในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ซึ่งจะต้องทำการยื่นภายในเดือน พ.ค. ของปีถัดไป เช่น รายได้ทั้งหมดของปี 2566 จะต้องยื่นภายในเดือน พ.ค. ปี 2567

เป็นแม่ค้า พ่อค้าออนไลน์ มีรายได้เท่าไหร่ถึงจะเสียภาษี?

ไม่ว่าคุณจะขายอะไรก็ตาม มีอายุเท่าไหร่ หรือเป็นแม่ค้ามือใหม่ไม่สำคัญ ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษี เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษี หรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่าไหร่ กรณีคนขายของออนไลน์เงินได้สุทธิเกิน 60,000 บาทต่อปีต้องยื่นแบบภาษี 

ซึ่งตรงนี้จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ‘กรณีต้องยื่นแบบภาษี’ หากเป็นบุคคลธรรมดาที่ทำอาชีพขายของออนไลน์ ไม่เปิดขายในฐานะของนิติบุคคล มีรายได้จากการขายของออนไลน์ เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) จะต้องยื่นภาษีเงินได้

ในการยื่นภาษีของการของออนไลน์ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบหักตามจริง และแบบเหมา 60% 

 

• หักค่าใช้จ่ายตามจริง เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีต้นทุนสูง เพราะวิธีนี้จะทำให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลง โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวมบัญชีรายรับรายจ่ายพร้อมหลักฐานไว้ให้ครบ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ

 

• หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ หักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งข้อดีคือเราไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายกับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริงกับค่าใช้จ่ายแบบเหมา

การขายของออนไลน์ที่ถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา จะเสียภาษี หรือไม่เสียภาษีขึ้นอยู่กับว่ามี มีเงินได้สุทธิมากเท่าไหร่ ย่ิงเสียภาษีในอัตราที่มาก ดังนี้ 

เงินได้สุทธิ 1 - 150,000 บาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษี 

เงินได้สุทธิ 150,001 - 300,000 บาท/ปี เสียภาษี 5% 

เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท/ปี เสียภาษี 10% 

เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท/ปี เสียภาษี 15% 

เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 20% 

เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 25% 

เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 5,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 30% 

เงินได้สุทธิ 5,000,001 ขึ้นไป เสียภาษี 35% ของรายได้

และการขายของออนไลน์ที่ถือว่าเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีจากรายได้ของการขายสินค้าตลอดทั้งปี (ตามรอบระยะเวลาบัญชี) ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะเสียภาษีตามตารางอัตราภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้ 

กำไรไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการยกเว้น 

กำไร 300,000 – 3,000,000 บาทขึ้นได้ เสียภาษี 15% 

กำไร 3,000,000 บาทขึ้นได้ เสียภาษี 20% 

ส่วนธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) จะมีอัตราภาษีคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก

 

เอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นภาษีสำหรับแม่ค้า พ่อค้ขายของออนไลน์ 

 

บุคคลธรรมดา 

 

1. แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 / แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 

2. เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือนจากนายจ้าง ตามมาตรา 50 ทวิ 

3. เอกสารแสดงรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่าง ๆ เช่น 

- ทะเบียนสมรส/ใบสูติบัตรบุตร 

- ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ 

- ใบเสร็จรับรองการซื้อกองทุน RMF/SSF/SSFX 

- หนังสือรับรองดอกเบี้ยกู้ยืมจากธนาคาร 

- หลักฐานการบริจาคต่าง ๆ

4. เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น 

- บัญชีรายรับ - รายจ่าย 

- ใบเสร็จรับเงินค่าวัตถุดิบหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อจำหน่าย 

 

นิติบุคคล

 

1. แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 51 / แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 

2. เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ เช่น 

- หนังสือรับรองเงินเดือนจากนายจ้าง ตามมาตรา 50 ทวิ 

3. เอกสารงบการเงิน เช่น 

- งบกำไรขาดทุน

- งบแสดงฐานะการเงิน

- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น 

- หมายเหตุประกอบงบการเงิน 

- รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ใครที่เป็นแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ หรือกำลังผันตัวเองมาทำธุรกิจออนไลน์ ต้องมีการวางแผนเรื่องภาษีให้ดี เพราะหากขาดเอกสารหรือทำอะไรผิดขั้นตอนไปเพียงนิดเดียว อาจมีปัญหาในการยื่นภาษีได้ เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการค้า ธุรกรรมทางการเงิน เพราะนอกจากจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเมื่อสรรพากรเข้ามาขอตรวจสอบอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราจัดการภาษีได้อย่างถูกต้อง และไม่มีปัญหาย้อนหลัง

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำเรื่องภาษีสำหรับการขายของออนไลน์มีหลายขั้นตอน แต่ทุกคนสามารถทำได้แน่นอน แค่ต้องอาศัยความรอบคอบในการจัดการกับเอกสารให้ครบถ้วน ซึ่งหากใครยังกังวลการถูกตรวจสอบจากสรรพากร ก็ยังมีตัวช่วยอื่น ๆ อย่างบริษัทรับทำบัญชี ที่จะช่วยให้การยื่นภาษีง่ายขึ้น สะดวก แม่นยำในทุกขั้นตอน เหมือนมีผู้ช่วยสอนทำบัญชี หรือจัดการกับบัญชีให้เราแบบส่วนตัว

โดย บริษัท ซี.แอล. การบัญชีและกฎหมาย จำกัด  เป็นบริษัทรับทำบัญชี บริษัทรับตรวจสอบบัญชี รับจดทะเบียนบริษัท วางระบบบัญชี online โดยมุ่งเน้นไปที่คุณภาพของงาน รวมไปถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์ และความรวดเร็วในการทำงานเป็นสำคัญ ด้วยทีมนักบัญชี นักตรวจสอบบัญชีมืออาชีพ รวมไปถึงที่ปรึกษาทางกฎหมาย และทนายความที่มากไปด้วยความรู้และประสบการณ์ในการรับจดทะเบียนบริษัทได้เป็นอย่างดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

268,270,272 ซอยรามคำแหง 54 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์: 
02-732-7920-2  แฟ็กซ์: 02-377-4681
มือถือ:  
097-120-5805
Email: 
admin@claccount.com

 




บทความ

5 ประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการบัญชี
การใช้เครื่องบันทึกการเก็บควบคุมการรับเงิน
วิธีทำบัญชีรายรับรายจ่าย ที่ถูกต้องและเข้าใจง่าย
CPA คืออะไร สำคัญอย่างไรกับผู้รับตรวจสอบบัญชี
ปิดงบบัญชี สำคัญต่อบริษัทหรือองค์กรของคุณอย่างไรให้สำนักงานบัญชีช่วย
ความแตกต่างระหว่าง บัญชีการเงิน VS บัญชีภาษีอากร ของสำนักงานบัญชี
วางระบบบัญชี online มีส่วนสำคัญต่อธุรกิจและการดำเนินงานให้มีความราบรื่น
ขอบเขตงานการรับตรวจสอบบัญชีที่องค์กรควรได้รับมีอะไรบ้าง
วางระบบบัญชี onlineแตกต่างกับบัญชีทั่วไปอย่างไร
ทำไม SMEs ถึงต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบบัญชี online
วางระบบบัญชี online ดีอย่างไร?
เช็คลิสตรวจสอบคุณภาพของบริษัทรับทำบัญชี
ความแตกต่างของการจดทะเบียนบริษัทเองกับจ้างบริษัท
รู้จักกับการตรวจสอบบัญชี มีกี่ประเภท? แตกต่างกันอย่างไร?
ข้อควรรู้ในการจดทะเบียนบริษัทหากมีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วย
มีโปรแกรมบัญชีแล้วต้องใช้บริการบริษัทรับทำบัญชีหรือไม่?
เปิดบริษัท แต่ไม่มีความรู้บัญชีและภาษีทำอย่างไรดี ?
ลดความซับซ้อนด้านบัญชีด้วยทีมงานสำนักงานบัญชีมืออาชีพ
ทำไมต้องเลือกใช้บริการบริษัทรับตรวจสอบบัญชีจาก CL Account
ทำความรู้จักโปรแกรมบัญชี express-peak-flow account
ทำไมจึงควรใช้บริการจดทะเบียนบริษัท
ลดความยุ่งยากด้วยบริการจดทะเบียนบริษัท
4 ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
6 สิ่งต้องคำนึงในการเลือกบริษัทตรวจสอบบัญชีให้ได้มาตรฐาน
6 บทเรียนพ่อรวยสอนลูก article
ทำไมธุรกิจขนาดเล็กจึงควรจ้างบริษัทรับทำบัญชี?
ข้อดีของการจดทะเบียนบริษัท
บริษัทรับทำบัญชีมีกี่แบบ และทำอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการจ้างบริษัทรับทำบัญชี ที่คนทำธุรกิจต้องรู้! article