ReadyPlanet.com
นิติบุคคลใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดใหม่ บริษัทจำกัดใหม่ article

 

หากคุณสนใจเริ่มทำธุรกิจ   และต้องการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล    

จะต้องมีหน้าที่ทำอะไรบ้างจึงจะถูกต้องตามกฏหมาย และ พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543

 

 

 

นิติบุคคลใหม่    มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้างจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย และพรบ.การบัญชี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • จดทะเบียนตั้งบริษัทจำกัด / ห้างหุ้นส่วนจำกัด
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • จดทะเบียนขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการ
กรมสรรพากร
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ถ้ามี)
กรมสรรพากร
  • ขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง และลูกจ้าง (ถ้ามี)
สำนักงานประกันสังคม
  • จัดหา   ผู้ทำบัญชี”   ที่มีคุณสมบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า   ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • แต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบการบันทึกรายการบัญชีและงบการเงินของกิจการ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • นำส่งภาษีอากรประจำเดือนที่เกี่ยวข้อง  เช่น
         1.  ภาษีเงินเดือนหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1)         ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
         2.  เงินสมทบประกันสังคม (สปส.1-10)        ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
         3.  ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอื่น (ภงด.3 , ภงด.53)   ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

         4.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) / ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) (ถ้ามี)    ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

 

  • นำส่งภาษีอากรประจำรอบระยะเวลาเกี่ยวข้อง  เช่น
         1.  ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภงด.51)        ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน
         2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภงด.50)     ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
         3.  สรุปภาษีเงินเดือนหัก ณ ที่จ่ายประจำปี (ภงด.1 ก)  ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

         4.  เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน

กรมสรรพากร

สำนักงานประกันสังคม

  •  กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อบังคับ  เพื่อปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินของกิจการ  เช่น สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. ของทุกปี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ  เพื่อบันทึกรายการค้าของกิจการให้ครบถ้วน  ตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่
         1.  บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด  บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป
         2.  บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
         3.  บัญชีสินค้าคงเหลือ
         4.  บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • บันทึกรายการค้าและเอกสารบัญชี ของกิจการ  โดยใช้เกณฑ์สิทธิ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมสรรพากร

  • หากกิจการได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม  ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย, รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าคงเหลือ ประจำเดือน
กรมสรรพากร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินประจำปี  เช่น  งบดุล, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น (เฉพาะบริษัทฯ) และหมายเหตุประกอบงบการเงิน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมสรรพากร

  • ส่งเอกสารหลักฐานการบันทึกบัญชี ,เอกสารทางด้านบัญชี และภาษีอากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้สอบบัญชีของกิจการ  ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินประจำปี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • นำส่งรายงานผู้สอบบัญชี, งบการเงิน และแบบนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภงด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
กรมสรรพากร
  • นำส่งรายงานผู้สอบบัญชี, งบการเงิน , บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และแบบนำส่งงบการเงิน (สบช.3) ภายใน 5 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • จัดเก็บหลักฐานการบันทึกบัญชี ,เอกสารทางด้านบัญชี และหลักฐานการเสียภาษีอากรของกิจการ  ไว้ที่สถานประกอบการอย่างน้อย  5  ปี (แต่อายุความคดีภาษีอากร ของกรมสรรพากรคือ 10 ปี)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมสรรพากร

 

 




ความรู้ผู้ประกอบการรายใหม่

ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี article